วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Sak Tree


                                                             ต้นสักทอง




เมล็ดไม้สัก ที่จะนำมาเพาะเตรียมกล้าเพื่อทำการปลูกสร้างสวนป่า ควรคัดเลือกเก็บจากแหล่งไม้สักที่มีลักษณะดี ในป่าธรรมชาติ (Seed Source Area) หรือจากสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก (Seed Orchard) ที่จัดทำขึ้นเท่านั้น ไม้สักที่ควรเก็บเมล็ดมาใช้เพาะเพื่อเตรียมกล้าไม้ควรมีอายุตั้งแต่ 15 ปี และมีความโตทางเส้นรอบวงตั้งแต่ 100 ซม. ขึ้นไป การเก็บเมล็ดไม้สักจากต้นสักในป่าทางธรรมชาติทั่วๆไป โดยไม่มีการคัดเลือกอาจจะทำให้ได้พันธุ์ไม่ดีมาปลูก ทำให้การปลูกสร้างสวนป่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร คือ ต้นไม้โตช้า รูปทรงไม่ดี แตกกิ่งก้านมาก เป็นต้น โดยทั่วไป ผลไม้สัก จะแก่ราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม และร่วงหล่นไปตลอดฤดูแล้ง ดังนั้น การเก็บเมล็ดสัก จึงสามารถดำเนินการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเก็บตามโคนต้น หรือปีนขึ้นไปเก็บผลที่แก่แล้วบนต้น

การเพาะกล้าไม้สัก
การเพาะกล้าไม้สัก จำนวนมากๆ ต้องทำแปลงเพาะขนาดมาตรฐาน ควรมีความกว้าง 1.10 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แต่ถ้าเป็นการเพาะกล้าไม้จำนวนน้อย จะเพาะในกระบะก่อน แล้วจึงย้ายลงในแปลงเพาะในภายหลังก็ได้ ดินในแปลงเพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย ก่อนหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะ เนื่องจากเมล็ดไม้สักอยู่ในผลที่มีเปลือกหนาและแข็งมาก ทำให้ใช้เวลาในการงอกช้ามาก การนำเมล็ดสักแช่น้ำ นาน 72 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้งอกเร็วขึ้น ควรทำแนวลึกลงบนแปลงเพาะตามความยาวแปลงเพาะ แต่ละแนวห่างกันประมาณ 10 ซม. แล้วโรยเมล็ดสักลงตามแนว กลบเมล็ดด้วยดินร่วน ทรายหยาบ หรือทรายผสมขี้เลื่อย หนาไม่เกิน 2.0 ซม. รดน้ำทุกวัน ในช่วงที่ฝนไม่ตก หลังจากนำเมล็ดสักลงเพาะในแปลงเพาะประมาณ 10-15 วัน กล้าไม้ก็จะงอกงาม
การกำจัดวัชพืช
เพื่อป้องกันไม้ให้วัชพืชขึ้นคลุม หรือแก่งแย่งอาหารในดินจากกล้าไม้สัก ที่กำลังงอก จะต้องทำการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ในแปลงเพาะออกอยู่เสมอเมื่อตรวจพบ โดยปกติจะทำหลังจากการระน้ำกล้าไม้เสร็จใหม่ ๆ เพราะดินในแปลงเพาะยังอ่อนอยู่ จะทำให้การถอนวัชพืชง่ายขึ้น การกำจัดวัชพืชจะต้องทำตลอดฤดูการเจริญเติบโต
การป้องกันโรคและแมลง
การเพาะกล้าไม้สัก มักพบว่ามีโรคและแมลงรบกวน โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อกัดกินใบสัก และหนอนผีเสื้อกินผิวใบสัก ดังนั้น ต้องคอยเอาใจใส่หมั่นตรวจดูแลอยู่เสมอ ถ้าพบว่ามีแมลงรบกวน ต้องรีบป้องกันและกำจัด โดยใช้ยาฆ่าแมลงพ่นทำลายเสีย
การลิดใบและถอนสางต้นกล้าสัก
การเพาะกล้าสักในแปลงเพาะจำนวนมาก ๆ มักปรากฏว่ากล้าสักจะเบียดกันมากเกินไป ทำให้ความโตของกล้า ไม่สม่ำเสมอต้นใหญ่บังต้นเล็ก จะต้องทำการลิดใบต้นใหญ่ออก เพื่อเปิดแสงให้ต้นเล็กได้รับแสงมากขึ้น และบริเวณที่มีกล้าสักขึ้นหนาแน่น ก็ทำการถอนสางออก เพื่อช่วยเร่งให้กล้าสักโตขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกัน
การใส่ปุ๋ยกล้าสัก
ในระหว่างการเจริญเติบโต ถ้าสังเกตเห็นว่ากล้าสักโตไม่ได้ขนาดปลูก ก็ใช้ปุ๋ยช่วยเร่งทางใบและทางราก
การเตรียมเหง้าสัก (Stump)
จะทำการขุดถอนกล้าสักจากแปลงเพาะ ในช่วงเวลาที่กล้าสักมีความงัน (Dormancy) หรือพักตัว สังเกตได้จากกล้าสักจะทิ้งใบจนหมดลักษณะดินแปลงเพาะจะแห้งนำมาทำการแต่งเหง้าโดยใช้มีดคม ตัดส่วนของลำต้นให้เหลือตาเหนือคอรากไว้ 1-2 คู่ ส่วนรากแก้ว ตัดให้เหลือยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัดรากฝอยออกให้หมด ขนาดของเหง้าสักที่ได้มาตรฐานที่จะนำไปปลูก คือ เส้นผ่าศูนย์กลางที่คอราก ระหว่าง 1.2-2.0 ซม. ความยาวประมาณ 15-20 ซม. นำไปเก็บในไว้ในหลุมทรายโดยควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส การปลูกด้วยเหง้าสักที่เก็บไว้ในหลุมทรายช่วงที่เหง้าสักกำลังงัน จะมีความเจริญเติบโตดีกว่าเหง้าสักที่ไม่ได้เก็บ ทั้งนี้เนื่องจาก อาหารที่ถูกเก็บสะสมไว้ในเหง้าสักยังไม่ได้ถูกใช้ไปในการเจริญเติบโตของกล้าสักในแปลงเพาะ ตอนต้นฤดูฝนปีต่อมา
การเตรียมกล้าสักจากเมล็ด (Seeding)
การปลูกสร้างสวนป่าตามหลักวิชาการป่าไม้นั้น ปลูกโดยใช้เหง้าสักที่ ได้จากการเพาะเมล็ด แต่ปัจจุบันหน่วยงานอื่นรวมทั้งเอกชนทั่วไปที่มีความสนใจ นิยมปลูกไม้สักโดยใช้กล้าไม้สักที่เตรียมจากเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมกล้าสักจากเมล็ดนั้น ก็เป็นขั้นตอนต่อจากการเตรียมเหง้าสักที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว ทำได้โดยการถอนกล้าสักจากแปลงเพาะ นำมาแต่งเหง้าสัก โดยใช้มีดตัดส่วนของลำต้นให้เหลือตาเหนือคอราก ไว้ 1-2 คู่ ส่วนรากแก้ว ตัดให้เหลือยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัดรากฝอยออกให้หมด แล้วนำเหง้าสักที่เตรียมเสร็จแล้ว ย้ายชำลงถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมไว้แล้ว โดยปักชำเหง้าสักในถุง ในระดับคอรากอัดดินที่โคนรากและคอรากให้แน่น วางเรียงไว้ในเรือนเพาะชำรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง กำจัดวัชพืช ดูแลรักษา จนกล้าไม้เจริญเติบโตได้ขนาดสูงประมาณ 30 ซม.ก็นำไปปลูกในสวนป่าได้
การเตรียมกล้าสักแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)
ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการสมัยใหม่ มาใช้ในการขยายพันธุ์ไม้สักโดยการผลิตกล้าไม้สักแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าในเชิงธุรกิจ โดยหวังว่า ผลที่ได้จากการปลูกสร้างสวนป่าโดยวิธีนี้ จะได้ผลดีกว่าการปลูกโดยใช้กล้าสักจากเมล็ดคือ ต้นสักจะมีลักษณะดีเหมือนต้นแม่ทุกประการ เช่น เปลาตรง โตเร็ว ความเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และให้ผลผลิตของเนื้อไม้มากกว่า เป็นต้น
            
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้สัก ก็เหมือนกับไม้ชนิดอื่นๆ โดยเริ่มจากการนำเนื้อเยื่อจากตายอดมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรการขยายปริมาณเนื้อเยื่อให้ได้ปริมาณมาก เลี้ยงเนื้อเยื่อให้เจริญจนมีใบ 2-3 คู่ ก็พร้อมที่จะนำออกมาเลี้ยงในเรือนเพาะชำหรืออาจจะนำไปเลี้ยงในสูตรอาหารเร่งรากก่อนนำออกปลูกก็ได้ หลังจากนั้นก็ย้ายกล้าไม้ที่ได้จากการเพาระเลี้ยงเนื้อเยื่อลงถุงพลาสติกบรรจุดินผสมที่เตรียมไว้ในเรือนเพาะชำ รดน้ำดูแลรักษาเช่นเดียวกับการเตรียมกล้าไม้ทั่วไป เมื่อกล้าไม้สักโตได้ขนาดที่เหมาะสม ก็นำไปลูกในพื้นที่สวนป่าต่อไป 
การคัดเลือกพื้นที่
ก่อนเริ่มทำการเพาะปลูกไม้สักทอง จะต้องพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้สักทองเสียก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งได้กล่าวถึงไว้บ้างแล้วในตอนต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าไม้สักทองในธรรมชาติจะขึ้นอยู่เฉพาะทางภาคเหนือ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม้สักจะขึ้นทางภาคอื่นไม่ได้ ปัจจุบันการปลูกป่าสวนเชิงธุรกิจ ทำการเพาะปลูกและดูแลสวนป่าอย่างปราณีต และนำวิชาการป่าไม้มาประยุกต์ใช้ ควบคู่กับวิชาการเกษตรสมัยใหม่ เช่นการเตรียมพื้นที่อย่างดี การปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ให้เหมาะสมกับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อการปรับปรุงดิน และช่วยเร่งความเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้การปลูกสวนป่าเชิงธุรกิจประสบผลสำเร็จอย่างงดงามิ อย่างไรก็ตาม การปลูกไม้สักทองเพื่อหวังผลตอบแทนในเชิงธุรกิจนั้น ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินลูกรัง และบริเวณที่มีหินดานอยู่ใต้ผิวดิน รวมทั้งพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ๆ
การเตรียมพื้นที่
ควรใช้เครื่องจักรกลโดยใช้รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบหรือล้อยางติดใบมีดหน้า เกรดปรับพื้นที่ล้มไม้ยืนต้นและกำจัดเศษไม้ปลายไม้ที่กีดขวางในบริเวณออกให้หมด แล้วใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางเข้าไถบุกเบิก ครั้งและพรวนสลับอีก ครั้ง สวนสักขนาดใหญ่ ควรใช้รถแทรกเตอร์เกรดทำทางตรวจการการกว้าง เมตร แบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาด 10-50 ไร่ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน และควรจัดเตรียมแหล่งน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นสักในหน้าแล้ง และช่วยในการดับไฟด้วย

การปลูก
ควรปลูกไม้สักทอง ในช่วงต้นฤดูฝนจะให้ผลดีที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้จะมีโอกาสตั้งตัวเร็ว และมีช่วงเวลาที่จะรับน้ำฝนและเจริญเติบโตมากกว่าต้นไม้ที่ปลูกในตอนปลายฤดูฝน ควรรดน้ำช่วยเหลือในช่วงแรกที่ปลูกและมีฝนทิ้งช่วง เพื่อช่วยให้ต้นไม้มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง ในปีแรกควรรดน้ำช่วยในช่วงหน้าแล้งเดือนละ ครั้ง จะทำให้ต้นสักทองเจริญเติบโตเร็วมาก ไม่ควรรดน้ำต้นสักทองเกิน ปี เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เมื่อต้นสักทองตั้งตัวได้แล้ว ควรหยุดการรดน้ำช่วย เพียงแต่ดูแลรักษาตามปกติ เช่น การถางวัชพืช การใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นสักทองที่ปลูกมีลวดลายสวยงาม สิ่งที่ผู้ปลูกไม้สักทอง ควรคำนึงประการหนึ่ง ก็คือ การเร่งไม้สักทองให้โตเร็วมากเกินไป อาจจะทำให้ไม้สักทองมีลวดลายไม่สวยงามเหมือนไม้สักทองที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ
วิธีการปลูกไม้สักทอง
ปลูกได้ วิธี
วิธีที่ ปลูกด้วยเหง้า วิธีนี้ ควรใช้สำหรับการปลูกไม้สักที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จะช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเหง้าสัก ขนาดที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่คอราก (collar) ตั้งแต่ 1.2-2.0 ซม.
 ก่อนที่จะปลูกนำเหง้าสักที่จะใช้ปลูกแช่น้ำยาเร่งรากเบอร์ ประมาณ 10 นาที ใช้ชะแลงปักดินห่างจากโคนหลักหมายปลูก ประมาณ 15 ซม. ในแนวตรง แล้วดึงด้ามชะแลงเข้าหาตัวเอียงประมาณ 15 องศา ให้มีความลึกพอดีกับขนาดความยาวของรากเหง้าสัก (ประมาณ 15-20 ซม.) ดึงชะแลงออก แล้วใส่เหง้าสักลงไปในหลุมตรง ๆ ให้ปลายเหง้าสักเสมอกับระดับผิวดินหรือต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อย ปักชะแลงลงในดินมาทางตัวผู้ปลูก เพื่ออัดดินชั้นบนให้กระชับส่วนของคอราก (collar) ใช้ส้นเท้ากดดินรอบ ๆ โคนรากเหง้าสักให้แน่น การปลูกสักด้วยเหง้า ควรคัดเลือกเหง้าสักที่มีขนาดเท่ากัน ปลูกในบริเวณเดียวกัน โดยปลูกเหง้าสักที่มีขนาดใหญ่ อยู่ตอนในของพื้นที่ และปลูกเหง้าสักที่มีขนาดเล็กบริเวณรอบนอกของพื้นที่ จะช่วยทำให้ต้นสักทองมีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันทั้งแปลง
วิธีที่ ปลูกด้วยการชำถุง ใช้สำหรับการปลูกสัก พื้นที่ไม่มากนัก ถ้าเตรียมกล้าอย่างดีจะทำให้ต้นสักเจริญเติบโตรวดเร็วและสม่ำเสมอ กล้าสักชำถุง ควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 30 ซม. ก่อนปลูกทำให้แกร่ง (hardeningไม่น้อยกว่า 15 วัน เวลาปลูกใช้จอบขุดหลุมปลูกขนาด 20x20x20 ซม. ห่างจากโคนหลักหมายปลูกประมาณ 15 ซม. ค่อย ๆ เอาถุงออกจากกล้าสักก่อนนำลงปลูกพยายามอย่าให้กล้าไม้กระทบกระเทือนมากเกินไป หรือให้ดินรอบโคนกล้าไม้แตกหลุดร่วงนำกล้าไม้ลงวางในหลุมปลูกในแนวตรงกลบดินรอบ ๆ โคนกล้าไม้ให้แน่น การปลูกไม้สักทองด้วยกล้าชำถุง ควรปลูกในช่วงเวลาที่มีฝนตกชุกหรือรดน้ำหลังปลูก จึงจะได้ผลดีและมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง
การปลูกซ่อม
หลังจากการทำการปลูกเสร็จแล้ว ประมาณ เดือน หากตรวจพบว่าต้นสักตาย ให้รีบทำการปลูกซ่อมโดยเร็ว และควรทำการปลูกซ่อมด้วยกล้าชำถุงที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีความสูงไม่ต่ำกว่า 30 ซม. ทั้งนี้เพื่อให้ต้นสักที่ปลูกในครั้งแรกและที่ปลูกซ่อมภายหลังมีความเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
การใส่ปุ๋ย
การปลูกไม้สักทองเชิงธุรกิจ การใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้ต้นไม้ในระยะแรก นับว่ามีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีสภาพดินเลว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 22-11-11 หรือ 18-12-6 ให้แก่ต้นไม้ปีละ ครั้ง ปีแรกใส่ครั้งละ 25 กรัม/ต้น ปีที่ ใส่ครั้งละ 50 กรัม/ต้น ปีที่ ใส่ครั้งละ 75 กรัม/ต้น ปีที่ 4-5 ใส่ครั้งละ 100 กรัม/ต้น สำหรับปีต่อๆ ไป ควรใส่ปุ๋ยให้เฉพาะต้นสักที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยเร่งให้มีความเจริญเติบโตทันเท่าต้นอื่นเท่านั้น ในบางสภาวะ ถ้าสามารถใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูก หลุมละ กก. จะช่วยให้ต้นสักทองเจริญเติบโตได้ดีขึ้นมาก อัตราการใส่ปุ๋ยดังกล่าว ใช้สำหรับพื้นที่ซึ่งมีความสมบูรณ์ปานกลาง แต่ถ้าพื้นที่มีสภาพดินไม่ดี ต้องใส่ปุ๋ยมากกว่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้งดินทราย จะต้องใส่ปุ๋ยมากกว่าอัตราที่กำหนดไว้อย่างน้อย เท่า คำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติสำหรับการใส่ปุ๋ยก็คือ ควรทำการวิเคราะห์ดินก่อนเพื่อการใส่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิผล ก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง จะต้องถางวัชพืชรอบโคนต้นสักให้เตียนก่อน แล้วจึงจะใส่ปุ๋ย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชที่ขึ้นอยู่รอบ ๆ โคนต้นสักแย่งปุ๋ยไปจากต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ได้รับปุ๋ยไม่เต็มที่ ควรพิจารณา ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยพืชสด ร่วมกับปุ๋ยเคมีด้วยเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ดินแน่น ต้นไม้จะไม่สามารถนำปุ๋ยเคมีที่ใส่ ไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
การลิดกิ่ง (Pruning)
ตามปกติ การปลูกต้นไม้ในเชิงธุรกิจ มีวัตถุประสงค์ ประการ
  • ประการแรก ปลูกเพื่อต้องการปริมาณ (Quanlity
  • ประการที่ ปลูกเพื่อต้องการคุณภาพ (Quality) 
การปลูกไม้สักทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการไม้ที่มีคุณภาพดี เปลาตรง และปราศจากตำหนิ จากปุ่ม ตา เมื่อเวลาตัดไม้ขายได้ราคาแพง จึงจำเป็นต้องทำการลิดกิ่ง ควรเริ่มลิดกิ่งต้นสักในปีที่ สำหรับปีแรก ควรทำเฉพาะตัดตันสักที่ขึ้นแซมออก โดยคัดเลือกให้เหลือ ต้นที่แข็งแรงและลักษณะดี ไว้เพียง ต้น เท่านั้น
            
วิธีการลิดกิ่งที่ถูกต้อง จะต้องใช้กรรไกรหรือเลื่อย ตัดกิ่งให้เรียบชิดขนานกับลำต้น ไม่ให้เหลือส่วนของโคนกิ่งไว้บนลำต้นและการตัดจะต้องไม่ทำให้เปลือกฉีกขาดและลำต้นได้รับอันตราย การลิดกิ่งแต่ละครั้ง ควรเหลือเรือนยอดที่เป็นกิ่งสดไว้พอเพียงกับความเจริญเติบโตของต้นไม้นั้น โดยปกติจะลิดกิ่งออกแต่ละครั้งเพียง 1/3 เท่านั้น การลิดกิ่งทำปีละครั้ง ในหน้าแล้งซึ่งเป็นระยะที่ต้นไม้หยุดการเจริญเติบโต สำหรับความสูงที่ต้องลิดกิ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปทรงของต้นไม้ ความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้ปลูกว่า ต้องการไม้ซุงที่มีลักษณะดี ยาวเท่าไร อย่างไรก็ตาม ควรทำการลิดกิ่งสูงจากพื้นดินอย่างน้อย เมตร และใช้ปูนขาวผสมน้ำทาตรงบริเวณรอยที่ตัดแต่งกิ่งออก เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำอันตรายต้นสักในภายหลัง 



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นสักทอง